Me Myself and My way

Archive for the ‘Books’ Category

Morse Code

วันนี้จะพูดถึงรหัสมอร์ส ซะหน่อย..

เรื่องของเรื่องก็เกิดมาจากการได้ไปอ่านหนังสือ ชื่อ เจาะรหัสคอมพิวเตอร์ (CODE) ซึ่งเขียนโดย Charles Petzoid (Microsoft Press , thai translation by Software Park) ที่เขียนเรื่องรหัสมอร์สไว้ได้อย่างน่าสนใจทีเดียว ก็เลยจะหยิบมาเล่าสู่กันฟัง

พูดถึงรหัสมอร์ส หรือ morse code แล้วคิดว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินชื่อกันมาบ้าง และก็คงพอจะทราบดีว่า ไอ้รหัสมอร์สเนี้ย มันมีหน้าตาเป็น . (dot , จุด) และ – (dash , ขีด) หรือจะเรียกว่า สั้น หรือ ยาว ก็ได้

ประโยชน์ของรหัสมอร์ส ก็คือการสื่อสารกันโดยใช้สัญลักษณ์แทนข้อความ เช่น การกระพริบของไฟฉาย เป็นจังหวะ สั้น-ยาว หรือการส่งโทรเลข ที่ใช้การเคาะสัญญาณ สั้น-ยาว เป็นต้น

ในการส่งรหัสมอร์ส เราจำเป็นที่จะต้องใช้ Morse table ซึ่งเป็นตารางแสดงการ map ระหว่างตัวอักษรภาษาอังกฤษ (รวมไปถึงตัวอักษรละตินบางตัวอักษรและตัวเลข) ซึ่งมีหน้าตาประมาณนี้

250px-Intcode

(pic : http://en.wikipedia.org/wiki/Morse_code )

ดูๆแล้วน่าปวดหัว ว่าใครมันจะไปจำรหัสได้ทั้งหมด เพราะแต่ละรหัสของตัวอักษร ดูมันจะถูกกำหนดขึ้นมาแบบไร้แบบแผน.. ผิดถนัด อะไรที่มันไร้แบบแผน คงไม่มีทางได้รับความนิยมแพร่หลายขนาดนี้แน่ๆ

เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยเล่นเกมส์ Scrabble ( หรือ Crossword ) ที่แต่ละตัวอักษรจะมีกำหนดค่าคะแนน ตามความ’ใช้บ่อย’ ของแต่ละตัว ซึ่งตัวอักษรอย่าง Z และ Q จะมีค่าคะแนนสูงสุดถึง 10 คะแนน เพราะความที่มันถูกใช้น้อยมากในแต่ละคำ

รหัสมอร์สก็ใช้หลักการนั้นแหละ..

สังเกตุดูรหัสของตัวอักษรที่ใช้บ่อยๆ อย่าง E และ T จะถูกกำหนดรหัสไว้เป็นรหัสที่ง่ายต่อการส่งมากที่สุด คือ หนึ่งจุด และ หนึ่งขีด ตามลำดับ

E .
T _

ส่วนพวกที่ใช้บ่อยเป็นลำดับถัดๆไป เช่น I A N และ M ก็จะถูกกำหนดไว้ให้ง่ายเป็นลำดับต่อไป คือ มีรหัสที่มีจะนวน จุด และ ขีด เท่ากับ 2

I .. N -.
A .- M

ลำดับต่อไปก็น่าจะเดาได้ ตัวอักษรที่ใช้ค่อนข้างน้อยอย่าง S,U,R,W,D,K,G,O ก็จะถูกจัดไว้อยู่ในลำดับถัดไป คือมีจำนวนจุด และขีดรวมกันเท่ากับ 3

S D -..
U ..- K -.-
R .-. G –.
W .– O

นอกนั้นที่เหลือ ก็จะเป็นพวกที่ใช้น้อยมาก อย่างตัวอักษรละตินบางตัว และสัญลักษณ์ และตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เหลือทั้งหมด ก็จะมีจำนวนจุดและขีด รวมกันเท่ากับ 4

สำหรับคนที่เรียนสายคอมพิวเตอร์มา คุณคงรู้ดีถึงความแพร่หลายของเลขฐาน 2 ดี.. และก็คงจะแปลกใจเหมือนกับผม ที่ได้รู้ว่า การจัดเรียงรหัสมอร์สแบบนี้ มันก็เหมือนกับรหัสเลขฐานสองนั่นเอง

และถ้าเรามากว่า จุด และ ขีด มันก็คือ สัญลักษณ์แทนถึง ‘ของ 2 สิ่ง ซึ่งไม่เหมือนกัน’ เช่นเดียวกับ 0 และ 1 ของเลขฐานสองแล้วละก็.. รหัสมอร์ส ก็มีรากฐานเดียวกับเลขฐานสองนั่นเอง

จาก 3 ตารางข้างบน (และอีก 1 ตารางที่เหลือที่ผมไมได้เขียนไว้) เราจะเห็นได้ว่า

จำนวนจุดและขีด จำนวนรหัส 2^x
1 2 2^1
2 4 2^2
3 8 2^3
4 16 2^4

นั่นก็คือ จำนวนรหัสในแต่ละตาราง มีค่าเท่ากับ 2 ยกกำลัง จำนวนของจุดและขีด นั่นเอง

จากนั้นเราก็จะนึกได้ว่า ไอ้จำนวนรหัสพวกนี้ มันก็คือ possiblility (ความน่าจะเป็น) ทั้งหมดของการสลับ จุด และ ขึด ที่มีจำนวนดังกล่าวนั้นเอง

จากความสัมพันธ์แบบนี้ จะเห็นได้ว่า โทรเลข และ รหัสมอร์ส ได้มีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน่าอัศจรรย์ จาก จุดและขีด ไปสู่เลขฐานสอง สู่ความเป็นดิจิตอล และสุดท้ายก็คอมพิวเตอร์

วันนี้คงพอแค่นี้ก่อน ยาวสุดชีวิตแล้ว 🙂